|
|
|
|
เทศบาลตำบลนางบวช ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลตำบลนางบวช เป็นเทศบาลตำบลนางบวช พร้อมกันทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ของอำเภอเดิมบางนางบวช |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลนางบวช ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 162 กิโลเมตร และมีพื้นที่ 12.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,812.00 ไร่ |
|
|
|
 |
|
การกำหนดตราสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีองค์ประกอบดังนี้ |

 |
เส้นวงกลมสีแดง 3 เส้นบนพื้นที่สีขาวภายในมีตัวอักษรสีน้ำเงิน คำว่า “เทศบาลตำบลนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี” หมายถึง เทศบาลตำบลนางบวช เป็นหน่วยงานราชการตัวแทนของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ น้ำเงินมีเขตการปกครองที่ชัดเจน คือ เส้นสีแดง |

 |
พื้นที่สีขาว หมายถึง เป็นพื้นที่การปกครองที่โปร่งใสบริสุทธิ์ เป็นธรรม และมีช่อดอกไม้สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ |

 |
ภายในวงกลมวงในสุดเป็นภาพวัดเขานางบวช (เขาขึ้น) วัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่พระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เคารพนับถือของชาวบ้านบางระจัน เคยอยู่จำพรรษา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พุทธศักราช 2452 (ร.ศ. 127) ดังนั้นชาวนางบวช จึงเคารพนับถืออย่างยิ่ง และท้องฟ้าสีครามสดใสปราศจากเมฆหมอก ด้านพื้นล่างเขาเป็นพื้นสีเขียว หมายถึง พืชพันธุ์การเกษตรอุดมสมบูรณ์ |
|
|
  |
|
   |
|
|
|
|
ทิศเหนือและทิศตะวันออก |
ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทานสามซ้ายฝั่งเหนือบนเส้นแบ่งเขตตำบลเขาพระกับตำบลนางบวช เลียบตามริมคลองชลประทานสามซ้ายฝั่งเหนือและฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตรงสุดคลองชลประทานสามซ้าย |
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ตั้งอยู่ริมคลองท่ามะนาวฝั่งเหนือห่างจากเชิงสะพานข้างคลองบางคางฟากเหนือ เลียบตามริมคลองท่ามะนาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 450 เมตร |
จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมคลองท่ามะนาวและคลองบางคางฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางคางฝั่งเหนือ บนเส้นแบ่งเขตอำเภอเดิมบางนางบวชกับอำเภอสามชุก |
ทิศใต้ |
จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามเส้นแบ่งเขตอำเภอเดิมบางนางบวชกับอำเภอสามชุกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณฝั่งตะวันออก บนเส้นแบ่งเขตอำเภอเดิมบางนางบวชกับอำเภอสามชุก |
ทิศตะวันตก |
จากหลักเขตที่ 5 เลียบตามแม่น้ำสุพรรณฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณฝั่งเหนือบนเส้นแบ่งเขตตำบลเขาพระกับตำบลนางบวช |
จากหลักเขตที่ 6 เลียบตามเส้นแบ่งเขตตำบลเขาพระกับตำบลนางบวชไปทางทิศเหนือบรรจบ หลักเขตที่ 1 |
|
|
    |
|
  |
|
   |
|
|
|
|
|

 |
เทศบาลตำบลนางบวช มีลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณ และที่ราบเชิงเขาลักษณะเตี้ยๆ อากาศร้อนชื้น สภาพดินอุ้มน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การทำการเกษตร เช่น การทำนา ทำสวน เป็นต้น มีแม่น้ำสุพรรณเป็นแหล่งน้ำหลักตามธรรมชาติที่สำคัญ |
|
|
|
|
|
|
|

 |
ด้านเกษตรกรรม |
คิดเป็นร้อยละ 65 |

 |
ประกอบพาณิชยกิจ |
คิดเป็นร้อยละ 25 |

 |
ประกอบอาชีพประเภทอื่นๆ |
คิดเป็นร้อยละ 10 |
|
|
|
  |
|
  |
|
   |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 4,523 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 2,196 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.55 |

 |
หญิง จำนวน 2,327 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.45 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,534 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 361.84 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านวังสำเภาล่ม |
737 |
768 |
1,505 |
435 |
|
 |
2 |
|
บ้านบางกระพ้น |
302 |
313 |
615 |
186 |
 |
|
3 |
|
บ้านนางบวช |
699 |
766 |
1,465 |
617 |
|
 |
4 |
|
บ้านท่านางเริง |
458 |
480 |
938 |
296 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
2,196 |
2,327 |
4,523 |
1,534 |
 |
|
|
ข้อมูล ณ วันที่ 31 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 |
|
  |
|
  |
|
   |
|
|